Troublesome Verbs

Troublesome verb คู่ verb เจ้าปัญหา

2053

สวัสดีค่ะ บทความนี้แอดขอนำเสนอ “Trouble Some Verbs” หรือก็คือ “คู่ Verb เจ้าปัญหา” นั่นเองค่ะ .. บอกเลยว่า ผู้อ่านหลายๆ ท่านไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ หรือแม้แต่เป็น native เอง (ปล: native – อ่านว่า “เน-ทีฟ” – หมายถึง ฝรั่งเจ้าของภาษาเอง) ก็ยังมีใช้ผิดกันบ้างไม่มากก็น้อยค่ะ เพราะ Verb คู่เหล่านี้ บางตัวก็จะสะกดคล้ายๆ กัน บางตัวสะกดเหมือนกัน แต่แปลความหมาย+ใช้งานต่างกัน หรือไม่ก็อ่านออกเสียงคล้ายๆ กัน แต่ใช้งานต่างกัน รวมๆ แล้วช่างน่าเวียนหัว และทำให้ยากแก่การจดจำนั่นเองค่ะ

เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ดีๆ วันนี้แอดฯ จับคู่ Verb เหล่านี้มาอธิบายความต่างให้ฟังกันเป็นคู่ๆ เลยจะได้เข้าใจแจ่มแจ้งกันสักที เอาล่ะค่ะ .. อยากรู้ซะแล้วว่า “มีคำว่าอะไรบ้าง” เรามาดูกันดีกว่าค่ะ 🙂

เริ่มด้วยคู่แรก น่าสับสนสุดๆ คือ break และ brake !?!?
เจ้า break ตัวแรก เป็นกริยา มีการผัน 3 ช่องเป็น break- broke-broken มีความหมายว่า “ทำแตก หัก” หรือ สามารถใช้แปลว่า “หยุดพัก” เช่น Spring Break ได้ด้วยค่ะ …

ในขณะที่ brake ตัวหลังนั้น ทำหน้าที่เป็นคำนาม แปลว่า “เบรกของรถ” (ที่เราเหยียบเมื่อต้องการหยุดรถ) นั่นเองค่ะ

ถัดมา .. คู่นี้แอบยาก ถ้าไม่เอามาเขียนย้ำ รับรองว่า น้องๆ หลายคนต้องทำข้อสอบผิดแน่ๆ ค่ะ lie-lay-lain ตัวบน เป็นกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ (สามารถใช้เดี่ยวๆ ได้ โดยไม่มีต้องมีกรรมมาต่อท้าย) มีความหมายว่า “นอนลง”

ยกตัวอย่างเช่น When I reach home, I always lie down on my bed. เมื่อฉันกลับถึงบ้าน ฉันชอบนอนลงบนเตียงเสมอๆ (สงสัยทำงานมาเหนื่อยมากแฮะ – -”)
**คำอธิบายเพิ่มเติม: ในประโยคตัวอย่างนี้ คำว่า down เป็น preposition ไม่ใช่ noun ดังนั้น จึงไม่ถือว่าเป็นกรรมของ lie นะคะ**

ส่วนคำที่สอง lay-laid-laid เป็นคำกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับ และมีความหมายว่า “วาง…ลง” นั่นเองค่ะ ดังตัวอย่างเช่น Hens lay eggs. (แปลว่า “แม่ไก่วางไข่”) และแน่นอนว่า eggs เป็นกรรมของ lay ค่ะ

จะว่าไปแล้วคู่นี้ ศึกษาดีๆ ก็จะเห็นว่า มันเหมือนกับ สกรรมกริยา และ อกรรมกริยา ตามหลักภาษาไทยเลยล่ะค่ะ 🙂 ฝรั่งเค้าก็มีนะแต่เรียกว่า transitive และ intransitive verb ตามลำดับค่ะ

ในขณะเดียวกัน ทราบไหมคะ คำว่า lie ก็มีการผันช่อง 2 และ 3 ในอีกรูปแบบนึงนะคะ ซึ่งความหมายจะต่างไปเลยค่ะ นั่นคือ lie-lied-lied แปลว่า “โกหก” ดังนั้น ถือเป็นกริยาคนละตัวกับ lie-lay-lain เลยค่ะ

ถัดมาอีกคู่ .. คู่นี้ก็ดูน่าสับสนไม่น้อย find-found-found แปลว่า “พบ หรือเจอ” ในขณะที่ found-founded-founded แปลว่า “ก่อตั้ง” แต่ไฉนดันเขียนใกล้ๆ กันซะนี่ .. รู้แบบนี้เราต้องจำให้แม่น จะได้ไม่พลาดนะคะ!!!

Key ก็คือ ถ้าเราเจอคำว่า “found” ในข้อสอบ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น verb ช่อง 2 ของ find-found-found หรือเป็น verb ช่อง 1 ของ found-founded-founded??

วิธีหาคำตอบ คือ ให้เราสังเกตตัวบอกเวลาที่มากับประโยคนั่นเองค่ะ เมื่อเราพอจะทราบแล้วว่า ประโยคนั้นๆ เป็น present หรือ past คราวนี้เราก็จะสามารถระบุได้แล้วว่า เป็น found ตัวไหน จริงไหมคะ? ^__^

ถัดมาอีกคู่ hang-hung-hung แปลว่า “แขวน” ในขณะที่ hang-hanged-hanged แปลว่า “แขวนคอ”

ถ้าใครเคยไปเที่ยวประเทศฝรั่งเศส แล้วได้มีโอกาสแวะไปเยี่ยมชมพระราชวังแวร์ซายแล้วล่ะก็ จะมีประวัติเขียนถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ว่าทรงถูกแขวนคอ ก็จะใช้คำว่า hanged ตัวนี้ในแผ่นจารึกล่ะค่ะ

คู่ถัดไป .. อันนี้ง่ายหน่อย คือ fall-fell-fallen แปลว่า “หกล้ม ทำตก หล่น” ในขณะที่ fail-failed-failed นี้หมายถึง “(สอบ)ตก” ดังนั้น อย่าใช้ผิดนะคะ ไม่เช่นนั้นอาจ fail วิชาภาษาอังกฤษได้ แล้วจะหาว่าแอดไม่เตือนน้า 😛

มาต่อกันด้วย rise-rose-risen ตัวแรกนี้ เป็นกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (อีกแล้วค่ะ) ดังตัวอย่างเช่น The sun rises in the east. พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก (ปล: in จัดเป็น preposition ไม่ใช่กรรม นะคะ – กรรม ต้องเป็น คำนาม เท่านั้นค่ะ เป็นคำอย่างอื่นไม่ได้)

ส่วนตัวที่สอง raise-raised-raised ตัวนี้เป็นกริยาที่ต้องการกรรมมารองรับค่ะ แปลว่า “ยก .. ขึ้น” ดังตัวอย่างเช่น When Tom wanted to share his opinion, he raised his hand. เมื่อทอมต้องการแสดงความคิดเห็นของเขา เขาจึงยกมือขึ้น .. นั่นเองค่ะ

คู่นี้ได้มาจากประสบการณ์การสอนนักเรียนอินเตอร์ล้วนๆ .. คือจริงๆ แอดก็รู้สึกงงเหมือนกันว่าน้องๆ อินเตอร์ส่วนใหญ่เอาคำนี้มาได้ยังงัย (แพร่หลายกันมากเหลือเกิน) เพราะ bring-brang-brung ไม่มีในโลกค่ะ มีแต่คำว่า bring-brought-brought เป็นคำกริยา แปลว่า “นำ..มา” ค่ะ

เช่นเดียวกันกับคู่นี้ draw-drew-drawn เป็นกริยา แปลว่า “วาด(รูป)” ส่วนอีกตัวไม่มีในโลกนะคะ ห้ามจำไปผิดๆ น้าา

เอาล่ะค่ะ .. บทความนี้ แอดหวังว่าน้องๆ และผู้อ่านทุกท่านคงจะได้รับประโยชน์ไปบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ อย่าลืม “จำกันให้แม่น แล้วเอาไปใช้ให้ถูกต้องด้วยค่ะ” .. ถ้างั้นแอดฯ ขอตัวไปพักก่อนนะคะ แล้วพบกันใหม่บทความหน้านะคะ

ขอบคุณมากค่ะ 🙂 ปล: อย่าลืมให้กำลังใจแอดฯ และทีมงานฯ เพื่อจะได้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานความรู้ดีๆ มีสาระต่อไปด้วยการช่วยกดไลค์ หรือแชร์ เพื่อแบ่งปันความรู้ดีๆ ไปให้เพื่อนหรือคนที่คุณรักด้วยนะคะ พวกเราเด็กไทยจะได้เก่งภาษาอังกฤษกันทุกคนถ้วนหน้าค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ^__^

#Troublesome_verb

#free_vocab #common_error