เรียนอินเตอร์แล้ว .. ทำไมยังต้อง “เรียนภาษาอังกฤษ”?

เรียนอินเตอร์แล้วทำไมยังต้องเรียนภาษาอังกฤษ

3934

เปิดมาด้วยหัวข้อน่าสนใจมากเลยทีเดียว สำหรับบทความนี้ บอกได้เลยว่าแอดฯ เก็บข้อมูลมาจากการพูดคุยกับคุณครูผู้มีประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษมากว่า 15 ปี และมีลูกศิษย์ที่เป็นทั้งนักเรียนของโรงเรียนในระบบการเรียนการสอนแบบเดิมของไทย, ระบบ EP (English Program), รวมถึงนักเรียนในโรงเรียนอินเตอร์ชั้นนำหลายแห่งทั่วประเทศ .. บอกเลยว่า นี่เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากๆ เราไปชมพร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ

***หมายเหตุ: แอดฯ อยากให้คุณผู้อ่านที่เป็นผู้ปกครองหลายๆ ท่าน ลองเปิดใจก่อนอ่านบทความนี้ดูนะคะ อย่าเพิ่งคิดว่า เป็นการ discredit โรงเรียนอินเตอร์นะคะ แต่อยากให้มองเห็นประเด็นต่างๆ เพื่อที่จะนำไปพัฒนาน้องๆ ลูกๆ หลานๆ ไทยในทุกโรงเรียนไป พร้อมๆ กันค่ะ***

ในปัจจุบัน คุณผู้อ่านรวมถึงผู้ปกครองหลายๆ ท่านตัดสินใจส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอินเตอร์ต่างๆ นั้น ก็เพื่อต้องการให้ลูกหลานได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะให้มีความถนัดในด้าน “การใช้ภาษาอังกฤษ” เนื่องจากมองการณ์ไกลแล้วว่า ในอนาคตข้างหน้า “ภาษาอังกฤษ” จะเป็นหนึ่งในวิชาที่จำเป็นที่สุดสำหรับพวกเขา

และแน่นอนว่า เมื่อส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอินเตอร์เรียบร้อย ซึ่งวันทั้งวันก็มีแต่คุณครูชาวต่างชาติสอน ผู้ปกครองหลายๆ ท่านก็มักคิดว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กๆ เรียนภาษาอังกฤษอีก เพราะเด็กๆ ได้เรียนภาษาอังกฤษจากทางโรงเรียนหมดแล้ว .. นี่ล่ะค่ะ คือ “กับดักทางความคิด” จะเป็นเพราะอะไรนั้น เรามาค่อยๆ พิจารณาไปพร้อมๆ กันดีกว่าค่ะ

จากประสบการณ์การสอนพิเศษด้านภาษาอังกฤษของคุณครูมากว่า 15 ปี พบว่า นักเรียนไทยที่เรียนในโรงเรียนอินเตอร์ “ส่วนใหญ่” จะมีความถนัดทางด้านการสื่อสาร
ภาษาอังกฤษจริง (ในด้านการฟังและการพูด) แต่ยังขาดทักษะสำคัญในด้าน “การเขียน
ภาษาอังกฤษ การอ่าน และจับใจความสำคัญ” ตามลำดับ
ซึ่งเหล่านี้ เป็นทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาความรู้ความสามารถต่อไปในระดับสูงอยู่ค่อนข้างมากจริงๆ ค่ะ ลองพิจารณาจากเหตุผลที่ทีมงานฯ ทำเป็นกราฟฟิคสรุปไว้ดังนี้ค่ะ

นักเรียนอินเตอร์ส่วนมากจะฟังและพูดภาษาอังกฤษได้ (ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้) แต่มักจะไม่เข้าใจในการเขียน กล่าวคือ มักเขียนโดยใช้ Slang หรือ เขียนออกมาเป็นภาษาพูด เป็นคำๆ หรือกลุ่มคำ (วลี) แต่ไม่เป็นประโยค ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้เป็นทางการได้ (Formal Writing)

*ปล: คำถามที่อาจผุดขึ้นมาในใจของคุณพ่อคุณแม่ตอนนี้ คือ แล้วจะต้องใช้การเขียนอย่างเป็นทางการไปทำไมใช่ไหมคะ? .. แนะนำให้อ่านต่อไปก่อนค่ะ เพราะมีคำตอบรอยู่แน่นอนค่ะ 🙂 ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งใจร้อน

หากสังเกตดีๆ การใช้ภาษาอังกฤษของน้องๆ โรงเรียนอินเตอร์ จะใช้พูดกันเป็น Past Tense ทั้งหมด จนบางทีน้องบางคนอาจไม่เคยรู้ว่ามันมี Tense อื่นๆ อยู่เหมือนกันนะ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะในการเรียนการสอน เมื่อคุณครูที่โรงเรียนต้องสอนเรื่องอะไรก็ตามที่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเคยเกิดขึ้นมาก่อน จึงมักใช้ Past Tense ในการอธิบาย .. ดังนั้น เด็กๆ จึงเคยชินกับการใช้ประโยคใน Tense ดังกล่าวเพราะได้ยินได้ใช้เกือบทุกวันนั่นเองค่ะ

ทราบไหมคะ ว่าเมื่อน้องๆ โตขึ้นจนเริ่มเรียนในระดับชั้นเกรด 6 (6th Grade) น้องหลายๆ คนจะต้องเริ่มเขียนมากขึ้นๆ ตรงนี้ล่ะค่ะ ที่คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มเห็นปัญหาของคุณลูก หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นยำ แนะนำเลยค่ะว่า เป็นช่วงที่จะต้องเข้าไปช่วยแนะนำหรืออธิบายหลักการใช้ภาษาให้น้องๆ เข้าใจได้อย่างดีเยี่ยมเลยล่ะค่ะ แต่หากคุณพ่อคุณแม่ลืมไปแล้วว่าหลักภาษาที่ถูกต้องสำหรับการเขียนควรเป็นอย่างไร แนะนำว่าเด็กในวัยนี้ กำลังเริ่มมีวินัย และเป็นวัยที่สมองกำลังรับการเรียนรู้ทางภาษาต่างๆ (รวมถึงภาษาอังกฤษ) ได้ดีมากเลยค่ะ .. ลองหาคอร์สภาษาอังกฤษดีๆ ให้น้องเรียนดูค่ะ


[Ads] หรือถ้าไม่สะดวกเรื่องการเดินทาง bestlearningonline ก็มีคอร์สภาษาอังกฤษออนไลน์ให้น้องๆ สามารถเรียนภาษาอังกฤษที่บ้าน (หรือที่ไหนก็ได้ที่สะดวก) ได้อย่างเข้าใจง่าย มีประสิทธิภาพ และใช้งานได้จริงค่ะ 🙂 สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ


ระยะหลังมานี้ แอดฯ เห็นคนออกมาต่อต้านระบบการศึกษาไทยแบบเก่าเยอะมากๆ ว่า การเรียนควรจะต้องสบายๆ ไม่ต้องเคร่งเครียด ไม่ต้องเรียนเยอะเกินจำเป็น และไม่ต้องจำมากนัก เพราะโตไปก็ไม่ได้ใช้ บลาๆๆ …

ก่อนอื่น ขอออกตัวก่อนว่า แอดฯ เป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดนะคะ และแอดฯ ก็เห็นด้วยกับข้างต้นนะคะ แต่ไม่ทั้งหมดค่ะ เพราะแอดฯ ยังเชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดี ต้องประกอบด้วย 2 ส่วน คือ “ความจำ และความเข้าใจ” ค่ะ กล่าวคือ ก่อนอื่นเราต้อง “เข้าใจหลักการ” และเมื่อเข้าใจแล้วจึงค่อย “จำหลักการ” นั้น และนำไปปรับหรือประยุกต์ใช้กับอย่างอื่นต่อไปค่ะ .. อันนี้ถือเป็นการ “จดจำที่น้อยที่สุด” แล้วล่ะค่ะ)

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเรียนเรื่องใดเรื่องนึงในห้องแล้วเข้าใจ แต่ไม่จำ พอกลับบ้านเราก็ลืม วีคหน้าก็ต้องมานั่งเรียนเรื่องนั้นใหม่ .. วนไปวนมาอยู่แบบนี้ ไปต่อไม่ได้จริงไหมคะ (อย่าลืมนะคะ ว่าบทเรียนบางเรื่องก็ต้องอาศัยความเข้าใจและจำบางเรื่องเป็นพื้นฐานเช่นกันค่ะ)

อีกตัวอย่างนึงก็คงจะเป็นเรื่อง “คำศัพท์” ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ในภาษาใด ผู้เป็นนักเรียนก็คงจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการจดจำตัวสะกดและความหมายไปได้เลยจริงไหมคะ

***หมายเหตุ: ระยะหลังนี้เจอเยอะมาก นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนอินเตอร์บางแห่ง จะมีลักษณะเหมือนกัน คือ เขียนคำศัพท์นั้นๆ ได้ (สะกดถูกจากที่คุณครูอ่านออกเสียงให้ฟัง) แต่ไม่รู้ความหมาย ไม่รู้ชนิดของคำ (ว่าเป็น noun, verb, หรือ adjective) และใช้ไม่เป็น (วางคำเหล่านี้ในประโยคไม่เป็น)***

งานเขียนส่วนใหญ่ที่น้องๆ อินเตอร์ทำออกมาได้นั้นจะเป็นงานเขียนในลักษณะนิยาย กล่าวคือ เป็นงานเขียนในลักษณะที่มีบุคคลที่หนึ่งคุยกับบุคคลที่สอง เช่น Annie said, “……” Then, James replied ….. เป็นต้น (เนื่องจากน้องๆ จะได้อ่านหนังสือนิยายกันมาเยอะ) แต่งานเขียนจำพวกนี้ ไม่จัดเป็นงานเขียนที่เป็นทางการ (Formal Writing) ซึ่งน้องจำเป็นต้องใช้ในการแสดงความคิดเห็น หรือ จุดยืน ในข้อสอบทางภาษาอังกฤษต่างๆ เมื่อโตขึ้น หรือต้องไปเรียนต่อยังต่างประเทศในอนาคต (รวมถึงในการทำงานหรือดำเนินธุรกิจเมื่อน้องจบการศึกษาอีกด้วยค่ะ)

ข้อสอบยอดนิยมฉบับนึง คือ ข้อสอบ SAT ซึ่ง 70-75% ของข้อสอบ จะทดสอบเรื่องของ Grammar, การจับใจความสำคัญใน Reading และมี Part นึงเลยที่ให้เขียน Writing เพื่อแสดงความคิดเห็นของตนต่อหัวข้อที่โจทย์ให้มา

แน่นอนค่ะว่า .. การคิดวิเคราะห์ที่ดี ทำให้เรามีศักยภาพที่ดี แต่อย่าลืมนะคะว่า หากเราขาดทักษะการเขียนที่ดี ก็ทำให้เราไม่สามารถตีแผ่ความคิดวิเคราะห์ที่ดีของเราออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ได้เช่นกันจริงไหมคะ? 🙂

ข้อเท็จจริงอย่างนึงก็คือ เด็กๆ ที่เรียนในโรงเรียนอินเตอร์นั้น หากยอมรับจุดอ่อนตรงนี้ แล้วตั้งใจพัฒนาทักษะการเขียนร่วมด้วย บอกได้เลยว่า (จากประสบการณ์นะคะ) น้องๆ จะสามารถพัฒนาได้เร็วกว่าเพื่อนๆ ที่เรียนในโรงเรียนไทย อันเนื่องจากน้องๆ มี “Pool of vocab” เป็นทุนอยู่ก่อนค่ะ .. ในทางกลับกัน สิ่งที่น้องๆ อาจจะมีน้อยกว่าเพื่อนในโรงเรียนไทยก็คือ “วินัยและความอดทน” ค่ะ ถ้าต่างฝ่ายต่างสามารถนำทั้งสองสิ่งนี้มาปรับใช้กันคนละนิดได้แล้วละก็ บอกเลยว่า “เยี่ยมที่สุด” ค่ะ 🙂

สุดท้ายนี้ แอดฯ และทีมงาน bestlearningonline.com ขอตัวไปหาข้อมูลเรื่องที่น่าสนใจอื่นๆ เพื่อมานำเสนอคุณผู้อ่านในบทความต่อๆ ไปก่อนนะคะ สำหรับบทความนี้ ถ้าคุณผู้อ่านเห็นว่ามีประโยชน์ อย่าลืมช่วยกันแชร์ หรือแบ่งปันให้คนที่คุณรักได้อ่าน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับลูกหลานไทยในอนาคตกันนะคะ และที่สำคัญ .. แอดฯ และทีมงานฯ จะได้มีกำลังใจในการเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อนำเสนอบทความดีๆ ต่อไปค่ะ ขอบคุณมากค่ะ 🙂

#เรียนภาษาอังกฤษ
#ทำไมต้องเรียนภาษาอังกฤษ
#bestlearningonline